ผู้เขียน หัวข้อ: ยาแก้เมาเหล้า: ทำไม? ดื่มเหล้าแล้วเมาไปถึงสมอง ควบคุมตัวเองไม่ได้ ขาดสติ  (อ่าน 111 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 453
    • ดูรายละเอียด
ยาแก้เมาเหล้า: ทำไม? ดื่มเหล้าแล้วเมาไปถึงสมอง ควบคุมตัวเองไม่ได้ ขาดสติ

จากข้อมูลศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2567 เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 43.19 ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 23.92 ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 15.28 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 83.82 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 78.74 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 38.54 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 31.89

การดื่นจมเมา ขาดสติ นำมาซึ่งอันตรายมากมาย แต่เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่า ทำไม? หลังดื่มแอลกอฮอล์แล้ว เช้ามากลับมาอาการแฮงค์ อาการเมาค้างชวนทรมานทุกที นั่นก็เป็นเพราะว่าร่างกายมีการขับของเสียในรูปแบบของปัสสาวะ ซึ่งมักขับสารอาหารที่สำคัญ อย่าง แมกนีเซียม วิตามินบี และโพแทสเซียม ออกไปด้วย ทำให้เกิดการคั่งของสารแอลดีไฮด์ มีผลต่อการลดปริมาณน้ำตาลในเลือดและรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนิน จึงเกิดเป็นอาการปวดศีรษะขึ้นนั่นเอง


ดื่มแล้ว เมาขาดสติ ส่งผลกระทบสมอง

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพสมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งเรื่องความจำ ความคิด ความเข้าใจ การใช้เหตุผล พฤติกรรมการแสดงออก การเคลื่อนไหว บุคลิก อารมณ์ มีรายงานพบว่า อาการความจำเสื่อมเป็นผลจากการใช้แอลกอฮอล์ในระยะยาวมากถึง 9-24% * โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลา ปริมาณ ชนิดของเครื่องดื่มซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์แตกต่างกันไป เช่น รูปแบบของการดื่ม ช่วงงดเว้นการดื่ม

ทั้งนี้ปริมาณแอลกอฮอล์ที่สามารถดื่มได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสมอง คือ ไม่เกิน 3 วันใน 1 สัปดาห์ โดยปริมาณการดื่มไม่เกิน 14 ดื่มมาตรฐาน (7 pints of beer หรือ เบียร์ 4 ขวด, 1 pint of beer เทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ 8 กรัม) ต่อสัปดาห์ในผู้หญิง และ 21 ดื่มมาตรฐานในผู้ชาย


ผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมอง

แอลกอฮอล์ที่ดื่มหลังจากดูดซึมแล้ว สามารถซึมผ่านหลอดเลือดเข้าไปทำลายเซลล์สมองได้โดยตรง ทำให้การกำจัดของเสียในเซลล์สมองแย่ลง การสร้างสารสื่อประสาทน้อยลง เนื้อสมองเสียหายและตายเร็วกว่าปกติ เกิดเนื้อสมองฝ่อ รวมถึงไปทำลายเซลล์พี่เลี้ยงของสมองที่ช่วยในการทำงาน

 นอกจากนี้แอลกอฮออล์ยังไปรบกวนการดูดซึมและกระบวนการนำวิตามินบี 1 ไปใช้ ทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินบี 1 ซี่งหากพบร่วมกับภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้กระบวนการทำลายของสมองเร็วยิ่งขึ้น


เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้สมองมีความเสียหายได้

ภาวะสมองเสียหายจากสุรา (alcohol related brain damage)

    อาการในระยะเฉียบพลัน: สูญเสียการควบคุมตัวเอง สูญเสียความจำระยะสั้นในด้านความคิด การใช้เหตุผลลดลง เสียการควบคุมการเคลื่อนไหวทรงตัวได้ไม่ดี ถ้าได้รับแอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำให้กดการหายใจ ระดับความรู้สึกตัวลดลงได้
    อาการในระยะยาว: บุคลิกภาพและอารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีภาวะความจำเสื่อม มีปัญหาการเรียนรู้และจดจำ รวมไปถึงมีการเติมความจำด้วยข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องลงไป

แอลกอฮอล์ส่งผลต่อสมองของเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากความแตกต่างในหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยจากฮอร์โมนเพศ น้ำหนัก ปริมาณไขมันในร่างกาย

นอกจากแอลกอฮอล์จะส่งผลต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางแล้ว ยังส่งผลต่อระบบประสาทส่วนอื่นๆ ได้แก่

    เส้นประสาทควบคุมการสั่งการเคลื่อนไหว (Motor nerve) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของแขนขา
    เส้นประสาทที่ควบคุมการรับความรู้สึก (Sensory nerve) ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการชา คล้ายเข็มทิ่มปลายมือเท้า มีอาการเดินเซควบคุมการทรงตัวลำบาก
    เส้นประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nerve) ทำให้การควบคุมความดันระหว่างการเปลี่ยนท่า การเต้นของหัวใจ ผิดปกติ การหลั่งของเหงื่อ น้ำลาย น้ำย่อยในทางเดินอาหารผิดปกติ ส่งผลทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้

ทำไม? ดื่มเหล้าแล้วเมาไปถึงสมอง ควบคุมตัวเองไม่ได้ ขาดสติ
นักดื่มอายุน้อย ดื่มตั้งแต่วัยรุ่นมีผลเสียมากกว่า

ประเภทของแอลกอฮอล์ที่เราสามารถบริโภคได้ คือ แอลกอฮอล์ที่เกิดจากกระบวนการหมักผลผลิตทางการเกษตรกับยีสต์ได้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์หรือที่เรียกกันว่า เอทานอล เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปแล้วแอลกอฮอล์ก็จะถูกดูดซึม และเคลื่อนที่ผ่านกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทำให้ไปกดการทำงานของสมองที่ส่งผลต่ออาการเมาจนเก็บทรงไม่อยู่ดังนี้

1. แอลกอฮอล์จะไปกดการทำงานบริเวณต่าง ๆ ของสมองส่วนซีรีบรัม (Cerebrum)

    กดการทำงานสมองกลีบหน้า (Frontal lobe) จะทำให้จำไม่ค่อยได้ ความคิด บุคลิก และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
    กดการทำงานสมองกลีบข้าง (Parietal loab) การประมวลผลการรับรู้ตำแหน่งจะแย่ลง และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง
    กดการทำงานสมองกลีบขมับ (Temperalloab) จะไปทำให้การรับกลิ่นเสียงและความรู้สึกแย่ลง
    กดการทำงานสมองกลีบหลัง (Occipital loab) จะทำให้การรับรู้ภาพแย่ลง ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัด

2. แอลกอฮอล์จะไปกดการทำงานสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus)

ทำให้ความรู้และความทรงจำเสียหาย เมื่อตื่นมาจะจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ได้ เวลาเมาจะหวนคิดถึงความหลังที่น่าเศร้าและไม่แปลกที่จะพบว่าคนเมามักจะชอบร้องไห้

3. แอลกอฮอล์จะไปกดการทำงานสมองส่วนซีรีเบลลัม (Cerebellum)

มีผลต่อการทรงตัวทำให้ยืนไม่ตรง เดินเซ ถือของไม่ไหวและสุดท้ายหากมีแอลกอฮอล์ในเลือดมากก็จะหลับไปในที่สุด

4. แอลกอฮอล์จะไปกดการทำงานก้านสมอง (Brain stem)


ทำให้มีการรบกวนการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ร่างกายมีการตอบสนองช้าลง

ทั้งหมดที่กล่าวมา คือสาเหตุของอาการเก็บทรงไม่อยู่หรือการเมานั่นเองแล้วเคยสงสัยไหมว่าทำไมถึงต้องมีกฎหมายห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้วัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี นั่นไม่ใช่แค่เพียงเพราะค่านิยมของสังคมเท่านั้น แต่การดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นมีผลเสียมากกว่า

อาการเมาที่กล่าวถึงไปในตอนต้น เนื่องจากโดยปกติแล้วสมองของเราจะมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้ การจดจำ การควบคุมความรู้ความเข้าใจ การตัดสินใจ และการรักษาความสมดุลทางอารมณ์ในช่วงวัยรุ่นที่มีอายุ 10-20 ปี

หากดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงวัยรุ่นนั้นจะรบกวนการพัฒนาของสมอง ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าความวิตกกังวลที่มักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น ซึ่งมีผลในระยะยาวมากกว่าเมื่อเทียบกับการดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ใหญ่ เพราะเหตุนี้เองจึงมีการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับวัยรุ่น

ดังนั้นการที่จะดื่มแอลกอฮอล์นั้น เราก็ควรที่จะรู้ผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของเรา เพราะว่าการดื่มแอลกอฮอล์นั้นไม่ได้มีแค่ผลในระยะสั้นเฉพาะแค่อาการมึนเมาเท่านั้น แต่การดื่มแอลกอฮอล์นั้นยังมีผลต่อสุขภาพของคนดื่ม โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังมีผลต่อการพัฒนาสมองในระยะยาวอีกด้วย


ตรวจภาวะสมองเสียหายจากแอลกอฮออล์

แพทย์จะซักประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ชนิด ปริมาณ รูปแบบการดื่ม รวมถึงโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมกับตรวจร่างกายเพื่อดูการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ รีเฟล็กซ์ การทรงตัว รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การควบคุมระดับความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ทำการทดสอบเกี่ยวกับความจำของผู้ป่วย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจระดับโปรตีนแอลบูมินในเลือด ค่าการทำงานของตับ ระดับวิตามินบี ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รวมถึงภาพวินิจฉัยทางสมอง แล้วรวบรวมข้อมูลประเมินระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น

บางครั้งผู้ป่วยที่ภาวะสมองเสียหายจากสุรา มักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอาการของโรคอัลไซเมอร์แต่ภาวะสมองเสียหายจากสุรา เป็นภาวะที่รักษาให้ดีขึ้นและยับยั้งความเสียหายเพิ่มเติมได้ การตรวจเพิ่มเติมที่เหมาะสมจะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว


รักษาภาวะสมองเสียหายจากแอลกอฮออล์

สิ่งสำคัญที่สุด คือ การหยุดดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะลดปริมาณสารพิษที่เข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง ทำให้เซลล์สมองฟื้นตัวได้ การรักษาภาวะขาดวิตามินบี 1  ด้วยการให้วิตามินบี 1 เข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะให้ผลตอบสนองดี ถ้าสมองได้รับความเสียหายไม่มาก โดยสมองส่วนที่ยังไม่ถูกทำลายจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ดี รวมถึงรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดร่วมกัน เช่น ภาวะขาดสารอาหาร น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

การให้วิตามินบี 1 แบบฉีดขนาดสูง ติดต่อกัน 5-7 วัน จะให้ผลดีมากในผู้ที่มีภาวะสมองถูกทำลายจากการขาดวิตามินบี 1

หากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในปริมาณที่มากและรู้สึกมีอาการผิดปกติของร่างกายตามที่กล่าวมา แนะนำให้มาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดี


อาการเมาค้าง…เแก้อย่างไรได้บ้าง

ก่อนจะไปรู้ว่าหลังเมาค้างจะดูแลตัวเองอย่างไร ควรรู้ก่อนว่าสิ่งที่ไม่ควรทำหลังดื่มแอลกอฮอล์

    ห้ามอาบน้ำทันที : หลังจบปาร์ตี้ ใครที่ชอบอาบน้ำหลังกลับมาถึงบ้าน ขอบอกว่าให้เปลี่ยนพฤติกรรมซะ เพราะถ้าไม่อยากเมาหนักกว่าเดิม…ก็ยอมดมกลิ่นเหงื่อตัวเองไปสักพักก่อนเนอะ!
    ห้ามหลับยาว : เวลาเมาค้างทีไร อาการหนังตาจะปิดมักจะมาทุกที งานนี้ขอบอกเลยว่าถ้าคุณเผลอหลับยาวหลังดื่มหนักใหม่ๆ เมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็เตรียมตัวมึนงงกับอาการเมาค้างได้เลย
    ห้ามเป่าพัดลม : แอลกอฮอล์อาจทำให้คุณรู้สึกร้อนวูบวาบจนต้องการลมเย็นๆจากพัดลม ซึ่งการเป่าพัดลมไม่เพียงทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงานความร้อนเร็วขึ้น..จนส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ แต่ยังเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองแตกได้ด้วยนะ
    ห้ามกินยาบรรเทาอาการ : การกินยาบรรเทาอาการปวดศีรษะก่อนเข้านอน หรือในขณะที่ร่างกายยังมีปริมาณแอลกอฮอล์สะสมอยู่มาก ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ! เพราะเมื่อยาบรรเทาอาการปวดผสมเข้ากับแอลกอฮอล์..จะส่งผลอันตรายต่อตับได้


เคล็ดลับแก้อาการเมาค้าง

    ดื่มน้ำเปล่าชะล้างพิษ : การดื่มน้ำเปล่าจะช่วยให้ร่างกายขับสารพิษหรือแอลกอฮอล์ออกทางปัสสาวะได้มากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ดื่มน้ำหลังฟื้นนะ..แต่ควรดื่มน้ำเปล่าหลังกลับจากปาร์ตี้ด้วย
    ไม่นอนทั้งวัน : แม้ว่าร่างกายจะโหยหาการนอนแค่ไหน แต่ก็ไม่ควรนอนจมบนเตียงตลอดทั้งวัน ควรลุกออกมาสูดอากาศเพื่อให้ออกซิเจนช่วยกระตุ้นการทำงานของเมตะบอลิซึม ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นได้
    เลือกกินเมนูร้อนๆ : การจิบชาร้อนหรือกินอาหารประเภทซุป ก๋วยเตี๋ยว หรือโจ๊กร้อนๆ จะช่วยลดอาการเมาค้างได้นะ
    เติมความเปรี้ยวซะหน่อย : ไม่ว่าจะกินส้มเป็นผลหรือน้ำส้มคั้นสดใหม่ ความเปรี้ยวจะช่วยแก้อาการคลื่นไส้ได้ แถมวิตามินซีในส้มยังช่วยให้ร่างกายสดชื่นขึ้นด้วย

หากมีอาการ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือท้องเสีย ไม่หยุดภายใน 1 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำ..อาจส่งผลอันตรายกว่าที่คุณคิด!

การจะเมามากเมาน้อย จึงขึ้นกับปริมาณแอลกอฮอล์ในน้ำเมานั้น โดยทั่วไป เบียร์จะมีแอลกอฮอล์ประมาณร้อยละ 2-5, น้ำตาลเมาและเหล้าองุ่น จะมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 10, เหล้าโรงหรือเหล้า 28 ดีกรี จะมีแอลกอฮอล์อยู่ประมาณร้อยละ 28, เหล้าผสม เช่น แม่โขง กวางทอง จะมีแอลกอฮอล์อยู่ประมาณร้อยละ 35, เหล้าขาว 40 ดีกรี จะมีแอลกอฮอล์อยู่ประมาณร้อยละ 40, วิสกี้และบรั่นดี จะมีแอลกอฮอล์อยู่ประมาณร้อยละ 40-50 เป็นต้น