โรคปอดบวม หรือ “Pneumonia” หรือบางคนอาจจะเรียกว่าโรคปอดอักเสบ เป็นโรคที่น่ากลัวมากหากปล่อยให้รุนแรงและสายเกินไป ซึ่งหลายคนมารักษาโรคปอดบวมในช่วงที่สายเกินไปจึงเกิดการสูญเสียในที่สุด ปัจจุบันโรค ปอดบวมเกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นจึงนับว่าเป็นโรคที่ควรเอาใจใส่เป็นพิเศษอย่างมาก และถึงแม้ว่าจะรักษาทันเวลาแต่ไม่รักษาต่อเนื่อง ผลที่ตามมาคือความเสียหายของปอดและสุดท้ายไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยหรือคนที่เป็นโรคปอดบวมนี้ แต่หากรักษาอย่างทันท่วงทีและถึงมือแพทย์อย่างรวดเร็ว โอกาสหายขาดจากโรคปอดบวมจะใช้เวลาไม่กี่วันเท่านั้น
โรคปอดบวมคืออะไร? และโรคปอดบวมเกิดจากอะไร?
ถ้าพูดถึงโรคปอดบวม โดยปอดบวมเกิดจากหลายสาเหตุ โดยมีชื่อเรียกตามที่ได้กล่าวถึงตั้งแต่ข้างต้น สามารถเรียกได้ทั้งปอดอักเสบ หรืออาจจะบอกว่าเป็นโรคปอดติดเชื้อก็ได้ โดยโรคปอดบวมนี้เป็นอีกหนึ่งชนิดของโรคปอดอักเสบซึ่งมักจะพบได้บ่อย เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม คือ มีเชื้อโรคเข้าสู่ปอดจนทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมา โดยจุดที่อันตรายมากที่สุด คือ ถุงลมปอดและเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ ส่วนเชื้อโรคต้นต่อของโรคปอดบวม นี้เป็นไปได้สูงว่าอาจจะเกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียกลุ่มไม่ดีต่อร่างกาย หรือบางคนอาจจะเกิดจากสูดเอาเชื้อราเข้าไปในระบบหายใจ ส่วนอาการจะขึ้นอยู่กับอายุ สภาพร่างกายของแต่ละคน
อาการเบื้องต้นของโรคปอดบวม
สำหรับโรคปอดบวมผู้ป่วยจะมีอาการต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่รับเข้าไปในร่างกาย รวมถึงสภาพร่างกายของแต่ละคนในเวลานั้น ๆ และในส่วนของอายุก็เป็นตัวแปรสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน แต่ด้วยโรคปอดบวมเป็นโรคติดต่อได้ง่ายจึงควรเข้ารักษาด้วยระบบทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อหรือการถ่ายทอดเชื้อจากอีกคนไปยังอีกคน ส่วนอาการทั่วไปของโรคปอดบวม คือ
ไอ ระคายคอและมีเสมหะ
มีไข้ เหงื่อออก มีอาการหนาวสั่นหรือบางรายอาจจะมีอาการร้อนๆ หนาวๆ และอ่อนเพลีย
คลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงอาจจะมีท้องเสียร่วมด้วย
หายใจเร็ว มีอาการเหนื่อยหอบทุกครั้งที่หายใจ และหายใจค่อนข้างลำบาก
สำหรับในผู้สูงอายุจะมีอาการซึมเข้ามา พร้อมกับอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
ส่วนในเด็กอาจจะมีปัญหาท้องอืด ไม่สบายท้อง รวมถึงเบื่ออาหารเป็นต้น
โรคปอดบวมเกิดจากอะไร
ถ้าถามว่าโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร คงต้องย้ำว่าเกิดจากเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปทำลายระบบหายใจของมนุษย์ให้เกิดความเสียหาย โดยตัวแปรตั้งต้นสำคัญทำให้เกิดโรคปอดบวมขึ้นมาคือ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อราต่าง ๆ โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมเหล่านี้เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่งผลให้หลายคนไม่ทันระวัง บวกกับสภาพร่างกายในเวลานั้นไม่แข็งแรง ทำให้อาการป่วยด้วยโรคปอดอักเสบจึงเกิดขึ้นทันที
สาเหตุของโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ
ในปัจจุบันพบว่า มี 2 ปัจจัยหลัก ๆ ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม นั่นก็คือ เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ และอีกสาเหตุคือไม่ได้ติดเชื้อทางเดินหายใจ
1. โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบจากการติดเชื้อ
หรือที่ศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกว่า “Pneumonia” หมายถึง ปอดบวม โดยสาเหตุของโรคปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งไวรัส แบคทีเรีย หรือแม้แต่เชื้อรา เข้าสู่ระบบหายใจโดยไม่ได้มีการป้องกันใด ๆ จากนั้นเข้าสู่ปอด ส่วนแหล่งที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับเชื้อโรคเหล่านี้ง่ายมากที่สุด คือ แหล่งชุมชน รวมถึงโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะมีเชื้ออันเป็นสาเหตุของโรคปอดบวมแฝงไว้ในชั้นบรรยากาศ และเมื่อร่างกายในเวลานั้น ๆ อ่อนแอ หรือมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงมากพอก็สามารถนำเข้าเชื้อได้ง่ายกว่าคนที่มีภูมิคุ้มกันและสภาพร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ สำหรับเชื้อที่มักจะพบเจอในผู้ป่วยโรคปอดบวมได้บ่อยมากที่สุดคือ
เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Streptococcus Pneumoniae, Haemophilus Influenzae Type B, Chlamydia Pneumoniae, Leginella spp, รวมถึง Mycoplasma Pneumoniae
เชื้อไวรัส ได้แก่ Respiratory Syncytial Virus, Influenza หรือที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่
เชื้อรา ได้แก่ เชื้อราที่มาจากมูลสัตว์อย่างเช่น นก หรืออาจจะเป็นเชื้อราจากซากพืชซากสัตว์ รวมถึงอาจจะเป็นเชื้อราจากจุดอับๆ ที่เกิดขึ้นภายในที่พักอาศัย
2. โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
สำหรับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา แต่เมื่อตรวจสุขภาพโดยการเอกซเรย์ปอด และแพทย์วินิจฉัยว่ากำลังป่วยเป็นโรคปอดบวม นั่นก็เป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้ได้สูดเอาสารต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นสารระเหย, ฝุ่น, ควัน หรือละอองต่าง ๆ และในผู้ป่วยบางรายอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาเคมีบำบัด รวมถึงยาที่ใช้รักษาเกี่ยวกับโรคหัวใจบางชนิดสามารถทำให้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวมได้เช่นกัน
โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการป่วยเป็นโรคปอดบวม
สำหรับคนที่มีอาการป่วยด้วยโรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า อาการเบื้องต้นจะไม่แตกต่างจากอาการป่วยเป็นหวัดมากนัก แต่อาจจะมีความรุนแรงบางอย่างเข้ามาอาทิเช่น อาเจียน คลื่นไส้ รวมถึงหายใจลำบาก ฯลฯ ส่วนเรื่องที่ควรพึงระวังหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีนั่นก็คือ ภาวะแทรกซ้อนซึ่งจะติดตามมาทันที แต่สำหรับคนที่เข้ารักษาโรคปอดบวมทันเวลาและอาการไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่ด้วยอายุ สภาพร่างกายไม่แข็งแรงมากพอ อาจจะมีผลกระทบต่อเรื่องโรคแทรกซ้อนได้สูงเช่นเดียวกัน
อาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อป่วยเป็นปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม
มาต่อกันที่โรคแทรกซ้อนที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มความทรมานให้ร่างกายของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ นั่นก็คือ
มีน้ำในช่องเหยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion) ซึ่งหากมีไม่มากโอกาสหายเองได้มีสูงมาก แต่หากมีมากอาจจะต้องเจาะเอาน้ำออก เพื่อให้หายใจดีขึ้น
หนองในช่องเหยื่อหุ้มปอด (Empyema) ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้มีไข้สูงและอาจจะเหนื่อยรวมถึงหอบได้ง่าย
ปอดแตกและมีลมในช่องปอด (Pneumothorax) อาการของคนที่ป่วยด้วยโรคนี้แทรกซ้อนคือ แน่นหน้าอกและหายใจหอบหนักมาก โดยมักจะเกิดขึ้นกับคนที่ติดเชื้อจำนวนมาก
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) รวมถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
หัวใจวาย ในส่วนของโรคนี้จะเกิดขึ้นกับคนที่ป่วยด้วยโรคนี้อยู่แล้ว
การรักษาโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ
สำหรับขั้นตอนการรักษาอาการป่วยของโรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวมในปัจจุบัน จะใช้ยาปฏิชีวนะแต่จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ซึงมีโอกาสเสี่ยงเชื้อดื้อยาสูงมาก นอกจากนั้นจะใช้วิธีการรักษาตามอาการของผู้ป่วยสำหรับคนที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าไป นอกจากนั้นยังรักษาตามอาการของโรคปอดอักเสบ, โรคปอดบวม และโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งขั้นตอนการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของโรคปอดบวมและเชื้อที่เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงอายุและสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน
วิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคปอดบวม
สำหรับวิธีการป้องกันหรือการหลีกเลี่ยงโรคปอดบวมในปัจจุบัน เพื่อป้องกันความรุนแรงและความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นคือ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อได้ง่าย อาทิเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนโรคปอดอักเสบ โดยวัคซีนที่จะใช้ในปัจจุบันคือ โพลีแซคคาไรท์ (PolySaccharide) และคอนจูเกต (Conjugate) นอกจากนั้นจะต้องหลีกเลี่ยงจุดที่จะทำให้มีโอกาสรับเชื้อต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย หรือจุดที่จะเพิ่มโอกาสให้ป่วยเป็นโรคปอดบวม
ถ้าพูดถึง โรคปอดบวม ในปัจจุบันถือว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างน่าห่วง เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก เนื่องจากว่าปอดบวมเกิดจากเชื้อโรคหลากหลายสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา นอกจากนั้นอาจจะเกิดจากฝุ่นละออง และควันต่างๆ รอบตัว และหากรักษาโรคปอดบวมไม่ทันเวลาอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนและทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากขึ้น ดังนั้นวิธีการดูแลและป้องกันโรคปอดบวม คือ ดูแลตัวเองอย่างดี อย่างเช่น หลีกเลี่ยงเข้าจุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค เป็นต้น
ไขข้อสงสัยโรคปอดบวมเกิดจากอะไร พร้อมอาการและวิธีป้องกัน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/151