ผู้เขียน หัวข้อ: ออกแบบครัวในบ้าน ให้ใช้งานได้จริง  (อ่าน 336 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 454
    • ดูรายละเอียด
ออกแบบครัวในบ้าน ให้ใช้งานได้จริง
« เมื่อ: วันที่ 3 ธันวาคม 2023, 14:41:39 น. »
หากลองนึกถึงภาพครัวสมัยก่อน เราก็มักจะเห็นคุณแม่ยืนทำอาหารอยู่หน้าเตาแบบเหงา ๆ ภายในครัวไทยที่แยกไว้หลังบ้าน ซึ่งทำให้คนทำครัวแทบไม่มีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่อื่น ๆ ในบ้านเลย แต่ในระยะหลังการออกแบบสถาปัตยกรรมบ้านเราได้รับอิทธิพลจากตะวันตก นิยมจัดพื้นที่ครัวไว้ภายในบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการจัดสรรที่มักออกแบบครัวเบามาให้เลย แน่นอนว่าเจ้าของบ้านจะได้ห้องครัวสวยดูทันสมัยและใช้พื้นที่ร่วมกับส่วนอื่น ๆ ของบ้านได้ แต่ความงามที่แถมมาอาจไม่ตอบโจทย์การใช้งาน เพราะวัสดุสร้างครัวส่วนใหญ่เป็นไม้ MDF หรือไม้ Partical Board ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้งานจริงของคนไทยที่ต้องทำอาหารตำ โขลก ลาบ ครัวจะต้องแข็งแรงรองรับงานหนักได้


1.เลือกตำแหน่งทิศห้องครัวให้รับแสง

บ้านที่ไม่ได้ออกแบบตำแหน่งครัวให้เหมาะสมตั้งแต่แรก อาจจะพบปัญหาครัวมืด ชื้น หรือร้อนเกินไปในช่วงที่ทำกับข้าว การวางตำแหน่งครัวให้สัมพันธ์กับทิศทางแสง จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบ ครัวที่ดีต้องอยู่ในทิศที่มีเเสงสว่างส่องเข้าถึงได้ เพื่อช่วยไล่ความอับชื้นและฆ่าเชื้อโรค  สำหรับเมืองไทยตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับครัวคือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือหรือตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่สามารถรับแสงและลมได้พอเหมาะ ในด้านฮวงจุ้ยมักจะแนะนำให้วางห้องครัวอยู่ในด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ เพราะทางทิศตะวันออกจะได้รับเเสงแดดตั้งเเต่เช้าถึงเที่ยง เวลาทำกับข้าวช่วงเย็นจะไม่ร้อน ส่วนทิศใต้เป็นทิศที่มีลมพัดผ่านได้ตลอดวัน ทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี

อย่างไรก็ตามการเลือกทิศสำหรับบ้านบางหลังอาจมีข้อจำกัดในตำแหน่งที่ตั้งและผังบ้าน แม้ครัวจะอยู่ในทิศที่ไม่เหมาะสมอย่างทิศเหนือ ครัวดังกล่าวจึงต้องออกแบบให้มีความโปร่งเป็นพิเศษ หรือหากตำแหน่งครัวอยู่ในตำแหน่งมุมบ้าน ให้เลือกเปิดช่องแสง ช่องลมในทิศอื่น ๆ ทดแทน


2. มีช่องทางระบายอากาศ

ครัวบางบ้านอยู่ในตำแหน่งอับ ไม่มีช่องทางระบายอากาศ  ในขณะที่เวลาปรุงอาหารไทยต้องใช้เครื่องเทศปรุงแกง คั่ว ผัด ทำให้เกิดกลิ่นฉุนและควันอบอวลรบกวนการใช้ชีวิต จึงควรมีช่องลมให้ระบายอากาศ ระบายกลิ่นที่เหมาะสม เช่น หน้าต่าง เครื่องดูดควันเหนือเตา พัดลมระบายอากาศ ที่จะช่วยดึงควันและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออกไปแล้วเพิ่มการหมุนเวียนของอากาศในครัว พัดลมระบายอากาศที่เหมาะกับครัวไทยควรหมุนด้วยความเร็วรอบตั้งแต่ 1,500 รอบต่อนาทีขึ้นไป  ติดตั้งตรงด้านที่รับการไหลเข้าของอากาศในห้องหรือตรงกับช่องลม ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการระบายอากาศดียิ่งขึ้น


3. พื้นที่เตรียมอาหารและสัดส่วนเหมาะสม

บ้านที่ทำอาหารทานเองเป็นหลักในแต่ละมื้อจะทำหลายเมนูพร้อม ๆ กัน หากเคาน์เตอร์ครัวเล็ก มีที่ว่างไม่พอสำหรับเตรียมอาหารคงไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริง การออกแบบชุดห้องครัวจึงต้องกำหนดขนาด ความสูง ระยะห่าง ที่เหมาะสมตามการใช้งาน พื้นที่ห้องและหลักสรีรศาสตร์ เช่น ทอปเคาน์เตอร์ปกติจะสูงจากพื้นประมาณ 80-90 ซม. ความลึกเคาน์เตอร์ประมาณ 55-65 ซม.  ส่วนความยาวจะขึ้นอยู่กับการใช้งาน หากทำอาหารครั้งละมาก ๆ ก็เพิ่มความยาวให้วางของได้มาก สำหรับไอส์แลนด์เตรียมอาหารและเคาน์เตอร์ครัวควรอยู่ห่างกันประมาณ 80 – 100 ซม. เพื่อให้พอดีกับจังหวะการหมุนตัวและมีระยะห่างเมื่อใช้งานพร้อมกันหลายคน สัดส่วนทั้งหมดที่ว่ามาสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงให้เหมาะกับความสะดวกในการหมุนตัว ก้ม เอื้อม ตามสรีระของผู้ที่ใช้งานเป็นหลัก


4. เลือกวัสดุที่ดูแลง่าย

บ้านแต่ละหลังส่วนใหญ่ออกแบบครัวในบ้านไว้อย่างสวยงามเลยครับ แต่เมื่อพูดคุยสอบถามกันลึก ๆ ส่วนใหญ่มักบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ค่อยได้ใช้ กลับไปใช้งานครัวไทยเล็ก ๆ หลังบ้านแทน ปัญหาหลัก ๆ เกิดขึ้นจากกังวลเรื่องครัวสกปรก กลัวจะไม่สวยแบบเดิม ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ไม่ยากครับ อยู่ที่กระบวนการเลือกวัสดุในตอนต้น วัสดุโซนห้องครัวทั้งพื้น ผนัง เคาน์เตอร์ ควรเป็นวัสดุเคลือบผิวมีลักษณะมันวาวและไม่ดูดซับความชื้น

วัสดุที่ควรเลี่ยงใช้ อาทิ ผนังปูนเปลือย, ผนังอิฐ, วอลเปเปอร์ที่ไม่มีการเคลือบผิว แนะนำให้ใช้วัสดุประเภทเซรามิก สแตนเลส หินอ่อน กระจก หรือวัสดุใด ๆ ที่เช็ดถูทำความสะอาดได้ง่าย โดยเฉพาะตำแหน่งวางกะทะ ควรมีผนังกันเปื้อน (Backsplash) และบริเวณรอบ ๆ ควรออกแบบให้มีพื้นที่กว้างไม่มีสิ่งของวางกีดขวาง หากเกิดคราบสกปรกจะสามารถเช็ดถูได้โดยสะดวกครับ


5.เคาน์เตอร์แข็งแรงรองรับงานหนัก

เคาน์เตอร์เป็นหัวใจสำคัญที่ต้องใช้ทำอาหารเป็นประจำทุกวัน หากออกแบบไม่แข็งแรงใช้งานไม่ถึงปีอาจจะมีพัง โดยเฉพาะครัวไทยที่ต้องใช้วางเขียง ครก กระทะ เพื่อทำอาหารที่ต้องโขลก ๆ สับ ๆ ได้เต็มรูปแบบ เคาน์เตอร์จึงต้องมีคุณสมบัติรองรับน้ำหนักได้มากและรับแรงกระแทกได้ดี จึงไม่เหมาะกับครัวสำเร็จรูปที่ทำเคาน์เตอร์ด้วยไม้ MDF หรือไม้ Partcle Board

เคาน์เตอร์ครัวที่เหมาะสำหรับทำอาหารไทย ควรเลือกเป็นครัวปูน ช่างจะทำการก่ออิฐเพื่อทำฐานเคาน์เตอร์ขึ้นมา ส่วนทอปเคาน์เตอร์เป็นลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก วิธีดังกล่าวจะเหมาสมกับการทำตั้งแต่กระบวนการสร้างบ้าน เป็นครัวที่ช่างคุ้นเคยเป็นอย่างดี ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด อีกทั้งยังแข็งแรงและเหมาะกับอาหารคาวหวานแบบไทย ๆ ด้วย



ออกแบบครัวในบ้าน ให้ใช้งานได้จริง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/