พลังงานแคลอรี่ถูกนำไปใช้อย่างไร
ในการหดตัวของกล้ามเนื้อ จำเป็นต้องใช้ adenosine triphosphate (ATP) ในการให้พลังงาน โดยระบบพลังงานที่มีส่วนในการสร้าง ATP ในกล้ามเนื้อ มี 3 ระบบ คือ
1. Phosphagen System
ในขณะเริ่มออกกำลังกาย ร่างกายจะนำเอาสารให้พลังงานสูง Adenosine triphosphate (ATP) และ Creatine phosphate (CP) ที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อมาใช้ทันที ซึ่งให้พลังงานไม่เกิน 10 วินาที พลังงานที่ได้จากกระบวนการนี้เรียกว่า Immediate energy system
2. Glycolytic pathway
เป็นขบวนการสร้างพลังงานในลำดับถัดมา เป็นขบวนการสลายพลังงานจากไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นขบวนการสร้างพลังงานที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน (glycolytic anaerobic process) และจะเริ่มพร่องไปภายในเวลาไม่เกิน 3 นาทีโดยประมาณ ผลที่เกิดขึ้น คือ ไดัพลังงาน ATP และมีของเสียที่เกิดขึ้นคือ lactate ที่เป็นตัวทำให้กล้ามเนื้อล้า
3. Mitochondrial Respiration
หลังจากออกกำลังกายนานกว่า 2-3 นาที ร่างกายจะใช้ระบบพลังงานที่อาศัยออกซิเจนเป็นหลัก โดยพลังงานที่เกิดขึ้นสร้างที่ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ด้วยกระบวนการขนส่งอิเล็กตรอน (electron transfer) ระบบพลังงานนี้ใช้ไกลโคเจนที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อและตับขณะออกกำลังกายในช่วงแรก อาจอยู่ได้นานประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับการเก็บสะสมไกลโคเจนในกล้ามเนื้อและตับว่ามากน้อยเพียงไร จากนั้นจึงเป็นการสร้างพลังงานจากไขมันที่สะสมในร่างกาย ดังนั้นการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก เพื่อให้ถึงขั้นที่ไขมันสะสมในร่างกายเริ่มถูกนำออกมาใช้ จึงควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและใช้เวลามากกว่า 30 นาที
ความเข้าใจเรื่องระบบการใช้พลังงานทำให้เรากำหนดรูปแบบและกิจกรรมได้ถูกต้อง เหมาะสมและตรงกับที่ควรจะเป็นในร่างกาย
ทำไมคนเป็นโควิดถึงอ่อนเพลีย…ต้องเสริมวิตามินตัวไหนดี
วิตามินที่คาดว่าอาจช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมถึงช่วยในกระบวนการรักษาได้แก่:
1. วิตามินซี (Vitamin C)
มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม แตงโม มะละกอ องุ่น ฝรั่ง มะม่วง ลิ้นจี่ มะนาว ผักคะน้า กะหล่ำปลี มะเขือเทศ เป็นต้น
2. วิตามินดี (Vitamin D)
สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความรุนแรงของโรค ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะมรสุมภูมิวิปริตหรือพายุไซโตไคน์ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 เราสามารถสร้างเสริมวิตามินดีโดยการให้ผิวหนังรับแสงแดดเป็นประจำ วิตามินดีพบมากในอาหารประเภท ปลาทะเลต่าง ๆ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล เห็ดหอม และไข่แดง เป็นต้น
3. สังกะสี (Zinc)
จัดอยู่ในกลุ่มแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อย (trace Minerals) มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายระบบ เช่น การเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกันโรค การติดเชื้อ ฯลฯ อาหารที่เป็นแหล่งของสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ และอาหารทะเลโดยเฉพาะอย่างยิ่งหอยนางรม
4. ซีลีเนียม (Selenium)
เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อยที่จําเป็นต่อร่างกาย เมื่อซีลีเนียมอยู่ในรูปของซีลีโนโปรตีนจะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เราสามารถได้รับซีลีเนียมจากการบริโภคอาหารทะเล เช่น ปลาทู หอยแมลงภู่ ไข่ รองลงมาได้แก่ เนื้อสัตว์ (เนื้อวัว เนื้อไก่) ถั่วเหลือง และถั่วเมล็ดแห้งชนิดต่าง ๆ ส่วนผักและผลไม้มีปริมาณซีลีเนียมเพียงเล็กน้อย
การที่จะใช้วิตามินหรือเสริมอาหารหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากสถานะสุขภาพของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไป โควิด-19 มีอาการที่แตกต่างกันไปตามบุคคล เช่น มีผู้ที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลย แต่ก็มีผู้ที่มีอาการรุนแรงและต้องการการรักษาในโรงพยาบาล การรักษาโควิด-19 ควรจะเน้นการดูแลร่างกายทั่วไปเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และรักษาอาการที่เกิดขึ้น
สัญญาณเตือนร่างกายพลังงานต่ำ
เมื่อร่างกายมีภาวะขาดแคลนพลังงานมักส่งผลทำให้เกิดความเหนื่อยล้า (fatigue) ซึ่งอาจเกิดขึ้นทั้งในร่างกายและจิตใจ โดยมีสาเหตุที่หลากหลายและเกิดได้ทั้งในคนทั่วไปที่มีกิจกรรมทางร่างกายหรือทางจิตใจอย่างหนัก หรือพยายามลดน้ำหนักที่ไม่ถูกวิธี แต่อาการจะบรรเทาอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันเมื่อมีการลดกิจกรรมทางร่างกายหรือจิตใจลง และในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ซึมเศร้า นอนไม่หลับ โลหิตจาง ไฟโบรมัยอัลเจีย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว หรืออาจเป็นภาวะที่เกิดภายหลังจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือวัณโรค ซึ่งความเหนื่อยล้าในกรณีนี้มักเป็นค่อนข้างนานหรือบางรายอาจเป็นเรื้อรัง (นานกว่า 6 เดือน) โดยเฉพาะในกรณีที่ควบคุมสภาวะของโรคไม่ได้ ดังนั้นการสังเกตสัญญาณเตือนของความเหนื่อยล้าจะช่วยทำให้วางแผนจัดการปัญหาหรือมองหาสาเหตุได้เร็วและทำให้คุณภาพชีวิตยังเป็นปกติ
สัญญาณที่อาจแสดงว่ามีภาวะเหนื่อยล้าที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนแรง ขาดแคลนพลังงาน รู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรงตลอดเวลา ไม่มีสมาธิ หมดแรงบันดาลใจในการทำงานหรือดำเนินชีวิต ไม่อยากเริ่มต้นหรือทำสิ่งต่าง ๆ จนสำเร็จ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอันเกิดจากโรคประจำตัว เช่น เป็นลมหมดสติ ใจสั่น มึนงง บ้านหมุน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่สำคัญที่บอกเราว่าควรเริ่มต้นปรับพฤติกรรมต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้า เช่น รับประทานอาหารและพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือปรึกษาเภสัชกรเพื่อรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยให้กระบวนการใช้พลังงานของร่างกายมีประสิทธิภาพในช่วงที่มีกิจกรรมทางร่างกายหรือจิตใจอย่างหนัก แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงจนกระทบการดำเนินชีวิตหรือไม่สามารถควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยล้าได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเริ่มหรือปรับการรักษาให้มีความเหมาะสมต่อไป
ยาแก้เมาเหล้า: เรื่องที่ไม่เคยรู้ สู่การเติมพลังงานให้ชีวิต อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/