เครื่องปรับอากาศ หรือที่เราเรียกกันว่า แอร์ ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่แทบจะขาดไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นจนเหมือนมีแต่ฤดูร้อนตลอดทั้งปี อีกทั้งแอร์ในปัจจุบัน ยังมีคุณสมบัติป้องกันฝุ่น ไวรัสต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจ ทำให้แอร์ยิ่งมีความสำคัญ และมีการใช้งานที่บ่อยและนานขึ้น นอกจากจะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นสาเหตุให้แอร์เสียอีกด้วย
วันนี้ขอแนะนำการ ซ่อมแอร์ สาเหตุที่แอร์เสีย วิธีการดูแลรักษาแอร์ และ วิธีซ่อมแอร์ ด้วยตัวเองเบื้องต้นมาฝากกัน ตามไปดูกันดีกว่า
ปัญหาแอร์เสียที่มักพบเจอบ่อย ๆ มีอะไรบ้าง?
1. เปิดแอร์แล้วไม่เย็น มีแต่ลม ปัญหาแอร์ไม่เย็น น่าจะเป็นปัญหาระดับเบสิกที่พบเจอกันเกือบทุกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแอร์เก่า หรือแอร์ใหม่ก็ตาม สาเหตุที่แอร์ไม่เย็น และมีแต่ลมอาจเกิดได้จากปัจจัยหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ไม่ถูกวิธี น้ำยาแอร์รั่วซึม หรือมีฝุ่นเกาะหนาแน่น เป็นต้น
2. แอร์มีน้ำหยดตลอดเวลา อีกหนึ่งปัญหาที่เจอทีไรทั้งกวนใจ และหงุดหงิดใจ คือ ปัญหาน้ำแอร์หยด สาเหตุของน้ำแอร์หยดนั้น เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น แอร์สกปรก ท่อน้ำทิ้งตันจนไม่สามารถระบายน้ำออกได้ องศาการเอียงของแอร์ถูกติดตั้งไว้ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการเกิดน้ำแข็งจับที่แผงฟินคอยล์ เป็นต้น
3. แอร์ตัดระบบทำงานบ่อย ปัญหานี้อาจไม่ค่อยได้สังเกตกันมากนัก แต่การที่แอร์ตัดระบบทำงานบ่อยและเร็วกว่าที่ควรจะเป็น มีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การเลือกขนาด BTU ที่ไม่เหมาะสมกับขนาดของห้อง อุปกรณ์เซ็นเซอร์ทำงานผิดเพี้ยน หรือคอมเพรสเซอร์แอร์มีอุณหภูมิที่ร้อนจนเกินไปนั่นเอง
วิธีดูแลรักษา ยืดอายุการใช้งานของแอร์
หากเราไม่อยากเจอปัญหาแอร์เสียจนต้องซ่อมแอร์บ่อย ๆ การป้องกันด้วยการดูแลรักษาแอร์อย่างสม่ำเสมอ น่าจะเป็นวิธีที่ดีและประหยัดงบประมาณมากที่สุด นอกจากจะไม่ต้องเสียเงินค่าซ่อมแอร์ ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของแอร์ได้อีกด้วย
หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรอง และไส้กรอง สาเหตุหลักที่ทำให้แอร์เกิดปัญหาแอร์ไม่เย็น มีน้ำหยด คือ ปัญหาที่มีฝุ่นละอองสะสมในแผ่นกรองอากาศมากเดินไป โดยเฉพาะบ้านที่อยู่ใกล้กับถนน ดังนั้นควรถอดไส้กรองมาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ล้างอัดฉีดแอร์ การล้างอัดฉีดแอร์ เป็นการทำความสะอาดอุปกรณ์ภายในอย่าง คอยล์ร้อนและคอยล์เย็น ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานของแอร์ โดยหากแอร์ผ่านการใช้งานมาแล้วประมาณ 4-6 เดือน ควรเรียกช่างซ่อมแอร์มาล้างอัดฉีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และยืดอายุการใช้งานให้กับแอร์
หมั่นเช็กระดับน้ำยาแอร์ น้ำยาแอร์ คือ องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยทำความเย็น โดยเมื่อแอร์ผ่านการใช้งานไปได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว น้ำยาแอร์จะน้อยลงหรือหมดไป จึงควรหมั่นเช็กระดับน้ำยาแอร์ประมาณ 4-6 เดือนต่อครั้ง โดยสามารถให้ช่างซ่อมแอร์ช่วยเช็กให้หลังจากการล้างอัดฉีดแอร์ก็ได้
รวม วิธีซ่อมแอร์ ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อช่าง
สำหรับบางสาเหตุที่ทำให้แอร์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น ปัญหาแอร์ไม่เย็น แอร์มีน้ำหยด หรือแอร์ส่งกลิ่นเหม็นอับ สามารถซ่อมแอร์ได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้บริการช่าง ซ่อมแอร์ และ วิธีซ่อมแอร์ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแอร์ไปได้นาน ๆ ได้แก่
1. การทำความสะอาดแผงกรองฝุ่น
แผ่นกรองฝุ่น หรือฟิลเตอร์ที่มีฝุ่นอุดตัน อาจเป็นสาเหตุให้แอร์ไม่เย็น แอร์น้ำหยด หรือแอร์ส่งกลิ่นเหม็น โดยวิธีการซ่อมแอร์ คือ การถอดนำแผ่นกรองฝุ่นออกมาแล้วใช้น้ำแรง ๆ ฉีดที่บริเวณด้านหลังของฟิลเตอร์ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น หรือใช้แปรงขัดที่มีขนนุ่มช่วยทำความสะอาด เท่านี้ก็สามารถกำจัดฝุ่นที่เกาะบริเวณแผ่นกรองฝุ่นได้ โดยควรทำความสะอาดอย่างร้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง
2. ทำความสะอาดแผงขดท่อคอยล์เย็น
ท่อคอยล์เย็นเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความเย็นให้กับแอร์ โดยจะอยู่ภายใต้หน้ากากรับลมของแอร์ เมื่อแอร์ผ่านการใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ฝุ่นขนาดเล็ก จะสามารถผ่านแผ่นกรองเข้ามาเกาะที่ท่อคอยล์เย็นได้ จึงควรล้างทำความสะอาดท่อคอยล์เย็น
โดยมีวิธีซ่อมแอร์ คือ ใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่มในการปัดฝุ่นบริเวณแผงขดท่อคอยล์เย็นออก แล้วใช้น้ำฉีดราด เพื่อชะล้างฝุ่นให้หมดไป ในกรณีที่มีฝุ่นเกาะหนามาก ต้องใช้น้ำยาเคมีสำหรับแอร์ช่วยในการทำความสะอาด
3. การทำความสะอาดถาดรับน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง
ถาดรับน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง เป็นอุปกรณ์ที่รองรับน้ำที่เกิดจากการทำงานของแอร์ โดยหากไม่ได้ทำความสะอาดเป็นระยะเวลานาน เมื่อรวมกับฝุ่นละอองต่าง ๆ จะทำให้เกิดเมือกขาวใสคล้ายวุ้น และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค วิธีการซ่อมแอร์ คือ ทำความสะอาดถาดรับน้ำทิ้งโดยการถอดออก เพื่อนำมาขัดโดยใช้แปรงขนนุ่ม และฉีดล้างทำความสะอาด ควรทำพร้อม ๆ กับการล้างแผงขดท่อคอยล์เย็น
อุปกรณ์ภายในเครื่องปรับอากาศ มีอะไรบ้าง?
เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ ขนาดเล็กที่ใช้ติดตั้ง กับบ้านพักอาศัย สำนักงานทั่วไป สามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการติดตั้งได้หลายประเภท เช่น แบบติดตั้งผนัง แบบแขวนบนเพดาน แบบติดตั้งกับพื้น แบบติดตั้งเพดาน ในฝ้า แบบตู้ตั้งพื้น เป็นต้น
ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศทุกแบบ จะสามารถแบ่งส่วนประกอบของระบบออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ส่วนที่อยู่ภายในอาคาร (Indoor) หรือเรียกว่า ชุดคอล์ยเย็น /แฟนคอยล์ยูนิต (Fan Coil Unit)
ส่วนที่อยู่ภายนอกอาคาร (Outdoor) หรือเรียกว่า ชุดคอล์ยร้อน /คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit)
ซึ่งการทำงานของแต่ละส่วน จะมีลักษณะการทำงาน คือ ชุดคอยล์เย็น จะทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้อง เพื่อให้อุณหภูมิลดลง ส่วนชุดคอยล์ร้อน จะมีหน้าที่ระบายความร้อนของสารความเย็น ซึ่งหลักการทำความเย็น หรือกลไกลการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ
นอกจากระบบเครื่องปรับอากาศ จะแบ่งออก เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ แล้ว ในส่วนชุดคอยล์เย็น (แฟนคอยล์ยูนิต) และในส่วนชุดคอยล์ร้อน (คอนเดนซิ่งยูนิต) ก็มีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นต่อระบบ ดังนี้
1. แผ่นกรองอากาศ /แผงกรองฝุ่น /ฟิลเตอร์ (Filter) ในเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ทุกเครื่อง จำเป็นต้องมีแผ่นกรองอากาศ หรือฟิลเตอร์ เพราะฟิลเตอร์ จะทำหน้าที่เป็นด่านแรกที่จะกรอกอากาศโดยจะดักจับฝุ่นละออง และสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศไม่ให้ผ่านเข้าไปยังตัวแผงขดท่อคอยล์เย็น และเป่ากลับเข้าไปสู่บรรยากาศภายในห้องได้อีก
2. แผงขดท่อคอยล์เย็น (Cooling Coil) แผงขดท่อ คอยล์เย็น คือ ตัวสร้างความเย็น มีรูปร่างเป็นเส้นท่อขดไปมาตามความยาวของเครื่อง และจะมีแผ่นครีบอะลูมิเนียมบาง ๆ หุ้มขดท่อเหล่านั้นอยู่ ภายในแผงท่อทำความเย็นจะมีสารทำความเย็นไหลเวียนอยู่เพื่อรับลมจากใบพัด และส่งลมเย็นออกไป
3. ใบพัดลมคอยล์เย็น (Blower) ใบพัดลมคอยล์เย็น หรือ โบลเวอร์ ทำหน้าที่หมุนเวียนอากาศในห้อง โดยได้กำลังมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า
4. ถาดรองรับน้ำทิ้ง และท่อน้ำทิ้ง (Condensate Tray & Drain Line) เป็นอุปกรณ์สำหรับรองรับน้ำ ที่เกิดจากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของไอน้ำในอากาศภาย ในห้อง น้ำที่เกิดขึ้นนี้จะไหลไปรวมกันที่ถาดรองรับน้ำ และถูกระบายทิ้งโดยผ่านทางท่อน้ำทิ้ง
5. หน้ากากรับลม และหน้ากากกระจายลม (Louver) เป็นอุปกรณ์รับลม และกระจายลมเย็นไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ภายในห้อง
6. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็นหัวของระบบปรับอากาศ ทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ ในสถานะที่เป็นแก็ส (แรงดันต่ำ) ซึ่งเกิดจากการระเหยภายในคอลย์เย็น ทำการอัดให้เป็นไอ (แรงดันสูง) ส่งไปยังแผงท่อระบายความร้อนต่อ
7. แผงท่อระบายความร้อน (Condensing Coil) เชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์ มีเป็นลักษณะเป็นท่อตะแกรง ทำหน้าที่ระบายความร้อนของน้ำยาที่ส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ ออกสู่ภายนอก
8. พัดลมระบายความร้อน (Condensing Fan) จะอยู่ด้านหลังแผงท่อระบายความร้อน ทำหน้าที่ดูดอากาศจากภายนอกอาคารเข้ามาผ่านแผงท่อระบายความร้อน เพื่อให้น้ำยาแอร์เย็นลง และกลั่นตัวกลายเป็นของเหลวอีกครั้ง
9. อุปกรณ์ควบคุมสารทำความเย็น (Metering Device) ทำหน้าที่ควบคุมการป้อนสารทำความเย็น
10. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Remote Control) เป็นอุปกรณ์ควบคุมเครื่องปรับอากาศระยะไกล ทำหน้าที่ ควบคุมการเปิด-ปิดเครื่อง ตั้งค่าอุณหภูมิห้อง ความเร็วพัดลม เป็นต้น
ซ่อมบำรุงอาคาร: เทคนิคดี ๆ วิธีซ่อมแอร์ ด้วยตัวเอง ทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องเรียกช่าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/