ผู้เขียน หัวข้อ: รับออกแบบบ้าน: ก่อนจะเป็นบ้าน สักหลัง สถาปนิกเริ่มต้นออกแบบจากโจทย์อะไรได้บ้าง  (อ่าน 310 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 222
    • ดูรายละเอียด
หากเราลองสังเกตบ้านที่เรียงรายตามถนนเส้นหลัก ตรอกซอกซอย หรือแม้แต่บ้านจัดสรรที่ผ่านการอยู่อาศัย บ้านแต่ละหลังล้วนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  ทั้งคาแรคเตอร์ รูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันไปตามไลฟ์สไตล์ ลักษณะนิสัยของเจ้าของ รวมถึงบริบทสถานที่ตั้งของพื้นที่นั้นๆ ในการออกแบบบ้าน สถาปนิกจึงต้องมีโจทย์เพื่อนำทางให้ผลงานขั้นสุดท้ายเหมาะสม ลงตัวไปกับการอยู่อาศัยได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด

จากบ้านจำนวนหลายหลังที่ผ่านมือสถาปนิกมานับคนไม่ถ้วน วันนี้จึงลองรวบรวมประเด็นต่างๆ มาให้ดูกันว่า ก่อนจะออกมาเป็นบ้านหนึ่งหลัง อะไรมักเข้ามาเป็นโจทย์สำคัญที่มีผลต่อการออกแบบบ้าง


เริ่มจากความต้องการของผู้อยู่อาศัย

แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับบ้าน จะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจากผู้อยู่อาศัย สิ่งแรกที่ผู้ออกแบบมักคำนึงถึงก่อนใครเพื่อน จึงเป็นเจ้าของบ้าน ผู้มาพร้อมโทจย์และความต้องการที่สะท้อนถึงลักษณะนิสัย งานอดิเรก ความชื่นชอบ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้สถาปนิกออกแบบสเปซ รวมถึงคาแรคเตอร์บ้านให้ตอบรับกับวิถีชีวิต และเหมาะสมกับผู้อยู่อาศัยคนนั้นๆ ได้มากที่สุด

ซึ่งความต้องการของผู้อยู่อาศัย ย่อมแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะโฟกัสฟังก์ชันและสเปซที่พิเศษเป็นหลัก แต่รูปลักษณ์ของบ้านกลับเปิดโอกาสให้สถาปนิกเป็นคนจัดการอย่างเต็มที่ หรือบางคนอาจต้องการฟังก์ชันแบบบ้านทั่วๆ ไป แต่ใส่ใจเรื่องสไตล์ของบ้านมากเป็นพิเศษ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นบ้านแต่ละหลังสะท้อนตัวตนของผู้อยู่อาศัยออกมาได้อย่างแนบเนียน


ใส่ใจบริบทและสถานที่ตั้ง

หลังจากที่ทราบความต้องการของทางเจ้าของเป็นที่เรียบร้อย สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ สถานที่ตั้ง ซึ่งคงพูดได้ว่า ในการออกแบบแทบจะไม่มีบ้านหลังไหนที่ไม่คำนึงถึงบริบท เพราะสถานที่ตั้งนี่แหละจะนำมาซึ่งการออกแบบที่ตอบโจทย์กับสภาพอากาศ จุดเด่นและจุดด้อยในเรื่องของมุมมอง ข้อจำกัดทางกฏหมาย หรือแม้แต่ดีเทลเล็กๆ ในการออกแบบที่ส่งผลต่อคาแรคเตอร์ของบ้าน

หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ให้เราลองนึกถึงบ้านบนดอยในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านใจกลางย่านสุขุมวิท และบ้านในสภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุกอย่างภาคใต้  ถ้าเราลองสลับพื้นที่ตั้งของบ้านทั้งสามหลัง ทุกๆ อย่างก็คงจะดูผิดรูปผิดร่างไปซะหมด  ความรู้สึกเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นว่า การออกแบบที่ดี จำเป็นต้องสอดคล้องไปกับสภาวะแวดล้อม สภาพอากาศในสถานที่นั้นๆ รวมถึงเคารพเรื่องราวของพื้นที่ซึ่งอาจคงสเน่ห์บางอย่างไว้อย่างน่าจดจำ


แก้ปัญหาข้อจำกัดทางพื้นที่

ในบางครั้งสถานที่ตั้งก็มาพร้อมกับข้อจำกัดทางการออกแบบที่คาดไม่ถึง ทำให้สิ่งแรกที่ผู้ออกแบบต้องคำถึงถึงคือการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนจะไปโฟกัสที่ความสวยงาม โดดเด่นของอาคาร  ยกตัวอย่างเช่น บ้านรีโนเวท ที่มักมาพร้อมปัญหาต่างๆ อย่างความมืดทึบ อับ แสงส่องไม่ถึง หรือสภาพอากาศที่ไม่ถ่ายเท การออกแบบจึงเข้ามาทำหน้าที่โดยเน้นไปที่การเปิดช่องเปิด เพื่อดึงลมและแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน การจัดวางสเปซให้บ้านดูโล่ง โปร่งขึ้น ก่อนจะเสริมด้วยความต้องการส่วนอื่นๆ เพื่อให้บ้านออกมาสมบูรณ์


‘ความเป็นธรรมชาติ’ องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ 

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการอยู่อาศัย คือ ธรรมชาติ ผู้ทำหน้าที่เติมเต็มบรรยากาศ และสุนทรียะให้การอยู่อาศัยของเรามีชีวิตชีวา และทำให้บ้านน่าอยู่มากขึ้น  โดยธรรมชาติที่เราพูดถึงในที่นี้ ไม่ใช่เพียงแค่พื้นที่สีเขียวหรือต้นไม้เท่านั้น แต่ยังรวมถึง ‘แสงและลมธรรมชาติ’ ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สถาปนิกจำเป็นต้องคำนึงถึงในการออกแบบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดภาวะสบายต่อผู้อยู่อาศัย 

ในการออกแบบบ้านทุกหลัง สถาปนิกจึงมีการวิเคราะห์ทิศทางของแสงและลม เพื่อเอื้อให้นำธรรมชาติซึ่งเป็นของฟรีมาใช้ในการออกแบบพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด


เรื่องเงินๆทองๆ อย่าง ‘งบประมาณ’

นอกจากเราจะมองถึงความต้องการ สเปซ ที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยแล้ว เรื่องเงินๆ ทองๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน  สำหรับบ้านบางหลังที่ค่อนข้างซีเรียสกับการจำกัดงบประมาณ ประเด็นนี้อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบ ที่ส่งผลให้สถาปนิกต้องเลือกใช้วัสดุ รวมถึงการออกแบบสเปซเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย เพื่อคุมให้งบประมาณทั้งหมดอยู่ในส่วนที่จัดสรรได้

แต่ในทางเดียวกัน การออกแบบในงบประมาณที่จำกัด ก็สามารถทำให้สวยงาม โดดเด่นได้ โดยเรามักจะเห็นสถาปนิกนำวัสดุหน้าตาบ้านๆ ที่เห็นตามท้องตลาดและราคาถูก มาดัดแปลง ออกแบบให้บ้านเกิดคาแรคเตอร์ที่น่าสนใจได้ไม่น้อย


เติมเสน่ห์ด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรม

สำหรับบ้านในต่างจังหวัด บางครั้ง ‘วัฒนธรรม’ อาจเข้ามาเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและกลายเป็นโจทย์หลักที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้สถาปัตยกรรมที่ถูกออกแบบสอดคล้องไปกับความเป็นย่านนั้นๆ โดยไม่ขัดแย้งกับอาคารอื่นๆ รอบด้าน
 
ซึ่งในอีกแง่มุมหนึ่ง วัฒนธรรมก็เป็นตัวช่วยเติมเสน่ห์ให้กับบ้านของเราได้เป็นอย่างดี โดยเรามักจะเห็นสถาปนิกนำรายละเอียดเล็กๆ เหล่านี้ มาเติมแต่ง บอกเล่าเรื่องราววัฒนธรรมผ่านเส้นสายของสถาปัตยกรรมที่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว


สไตล์ที่ชอบ Mood &Tone ที่ใช่

ปฏิเสธไม่ได้ว่า  สิ่งแรกที่ดึงดูดผู้คนให้มองเห็นย่อมเป็นหน้าตา ความสวย หล่อ เท่ สิ่งเหล่านี้เป็นรูปลักษณ์ภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการมองเห็น เช่นเดียวกับการออกแบบ ‘บ้าน’ สไตล์การออกแบบจึงเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสำคัญ  เพราะแน่นอนว่า จะสร้างบ้านสักหนึ่งหลัง เราย่อมต้องการให้บ้านสวยงาม เป็นหน้าเป็นตา คอยทักทายผู้คนที่ผ่านไปมา และบ่งบอกความเป็นเราได้อย่างเต็มที่

ถึงแม้สไตล์ต่างๆ อย่างความเป็นโมเดิร์น ลอฟท์ หรือมินิมอล จะไม่ได้ส่งผลต่อสเปซโดยตรง แต่ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสุนทรีย์ และสะท้อนความชื่นชอบของทางเจ้าของได้ไม่น้อย บ้านหลายๆ หลังจึงมีภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ชัดเจน และโดดเด่นด้วยรูปลักษณ์มากกว่าสเปซภายใน


เปิด-ปิดด้วยมุมมอง และความเป็นส่วนตัว

หนึ่งในข้อดีที่บ้านออกแบบเองต่างจากบ้านจัดสรร คือการเปิดมุมมองที่เราสามารถกำหนดได้เอง เพื่อสร้างความส่วนตัว แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมองเห็นบรรยากาศที่เราสร้างขึ้นได้ภายใน บ้านสมัยใหม่ในเขตเมืองจึงนิยมสร้างคอร์ดต้นไม้เพื่อสร้างบรรยากาศให้เกิดขึ้นในบ้านนั่นเอง

มุมมองและความเป็นส่วนตัวย่อมส่งผลต่อ จังหวะของช่องเปิด ทำให้รูปลักษณ์ของบ้านออกมาไม่เหมือนกันในแต่ละหลัง โดยบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง มักจะถูกออกแบบให้มีความปิดทึบ มีกระจกหรือช่องเปิดน้อย แต่ในขณะเดียวกันบ้านที่เปิดมุมมองให้รับวิวภายนอก ย่อมเปิดโล่งด้วยการใช้กระจก หรือออกแบบสเปซให้ไหลเวียนเชื่อมโยงกันทั่วทั้งบ้านโดยลดการใช้ผนังให้น้อยที่สุด


ภูมิสถาปัตยกรรมมาก่อนสถาปัตยกรรม

สำหรับการออกแบบบ้านบางหลัง จุดเด่นของการออกแบบกลับไม่ใช่ตัวสถาปัตยกรรม แต่เป็นธรรมชาติที่เข้ามารับบทเด่นแทนที่ เพื่อให้บรรยากาศภายในบ้านห้อมล้อมไปด้วยความร่มรื่น ใกล้ชิดและสัมผัสถึงธรรมชาติให้มากที่สุด โดยสถาปนิกมักจะออกแบบให้อาคารเรียบง่าย ลดทอนรายละเอียดต่างๆ ลง เพื่อให้สถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นเพียงฉากหลังที่ขับให้ธรรมชาติโดดเด่น


เก็บ ‘สิ่งเดิมในพื้นที่’ ก่อนเพิ่มสิ่งใหม่

ในการออกแบบบ้านที่ไม่ได้เริ่มต้นจากผืนที่ดินเปล่า สถาปนิกย่อมต้องสำรวจสิ่งที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ทั้งหมด เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเก่าของอาคาร ต้นไม้เดิม หรือแม้แต่วัสดุบางอย่างที่ยังคงความสวยงาม และเอกลักษณ์ของพื้นที่เดิมเอาไว้  การออกแบบที่ดีจึงไม่ใช่การรื้อถอนและสร้างสิ่งใหม่ให้หวือหวา สวยงามเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการนำสิ่งเก่าที่มีอยู่ มาประยุกต์ใช้ ให้เกิดความเหมาะสม และกลมกลืนไปกับสิ่งใหม่ได้อย่างลงตัว

ประเด็นต่างๆ ที่เรารวบรวมมาในครั้งนี้ ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่เรามักพบเห็น หรือสังเกตได้จากการออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งในการออกแบบที่ดี การมองหาเพียงหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งคงไม่เพียงพอ แต่กว่าจะออกมาเป็นบ้านสักหนึ่งหลังอย่างที่เราเห็น แน่นอนว่าสถาปนิกจำเป็นต้องคำนึงถึงทุกประเด็นอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ ‘บ้าน’ ซึ่งเป็นสถานที่ที่จะอยู่อาศัยในระยะยาวสามารถตอบโจทย์ชีวิต สังคมบริบทรอบด้าน รวมถึงธรรมชาติ ให้ไปด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์


รับออกแบบบ้าน: ก่อนจะเป็นบ้าน สักหลัง สถาปนิกเริ่มต้นออกแบบจากโจทย์อะไรได้บ้าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/